ประโยขน์และโทษของเฟสบุ๊ค

ปัจจุบัน Facebook ได้รับความนิยมกันมากในหมู่วัยรุ่น และบุคคลที่ต้องการสื่อสารกัน แม้ว่า Facebook จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่ในทางกลับกัน Facebook ก็เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน Facebook คืออะไร? Facebook เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมบนอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่สร้างหน้าโปรไฟล์, อัพโหลดรูปถ่าย, อัพเดทสเตตัส, แชร์ข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆ ได้

Facebook ก็มีทั้งประโยชน์และโทษในตัวของมันเอง ลองมาดูเรื่องของประโยชน์กันก่อนดีกว่า เราสามารถใช้เว็บเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อความต่างๆทั้งภาพถ่ายและวิดีโอ หรือเอาไว้โชว์ผลงานอวดความเก๋า ความเก่งเและเจ๋ง ทั้งของตัวเอง เพื่อนพ้องน้องพี่ แฟนคลับดารา หรือขององค์กรเพื่อส่งออกไปยังคนกลุ่มหนึ่งโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาด บางคนก็เรียกเป็นกลยุทธ์ปากต่อปาก หรือ Viral Marketing แค่โพสต์ข้อความลงไปในหน้า page เพื่อนของเราหรือใครๆที่อยู่ในContacts List ก็จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น และถ้าเนื้อหาต่างๆมีความน่าสนใจ มันก็จะถูกส่งต่อออกไปเรื่อยๆ ใครจะไปรู้ว่าข้อความของเราอาจส่งไปไกลถึงอีกฝั่งนึงของโลกก็ได้นะ

มาพูดถึงโทษกันบ้าง การที่เราติดมันมากเกินไปก็ทำให้เสียอะไรหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเวลาส่วนตัวในชีวิตจริง ที่ต้องเสียไปโดยไม่มีประโยชน์อะไรเพราะว่ามัวแต่หมกมุ่นอยู่ในโลกออนไลน์ เสียสุขภาพหากเรานั่งเล่นอยู่หน้าจอคอมนานๆ เสียงานหากติดซะจนเล่นไม่ เป็นเวลา ส่วนปัญหาทางสังคมอย่างบรรดาดาราที่ตกเป็นข่าวว่าFacebook ที่พวกคุณcommentกันอยู่ไม่ใช่ตัวจริง ขนาดดาราตัวจริงไปcommentแก้ข่าวยังโดนตอกกลับมาจากแฟนคลับว่าหล่อนน่ะตัวปลอม คิดไปก็น่าสงสารอยู่ดีๆก็มีตัวปลอมขึ้นมาอีกคน ตัวจริงอย่างฉันต้องมานั่งรบกับตัวเองเหนื่อยนะเนี่ย ฉันน่ะตัวจริงนะเชื่อกันบ้าง! นี่ก็เป็นปัญหาหนักอกหนักใจถึงขนาดต้องออกมาประกาศตัวกันเลยทีเดียว หลอนดีพิลึก เทคโนโลยียังเป็นดาบสองคม ที่เหล่าบรรดามิจฉาชีพอาจแฝงตัวเข้ามาหาเราโดยไม่รู้ตัว เริ่มจากตีซี้ ทำาความสนิทสนมจนเราตายใจ ที่เรียกง่ายๆว่าแอ๊บมาเป็นเพื่อนเราแล้วก็ทำาการนัดเจอกัน บางคนอาจเสียตัว หรือเสียทรัพย์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุการณ์ต่างๆมักเกิดขึ้นได้บ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้นเราควรรู้เท่าทันเทคโนโลยีและสิ่งยั่วยุต่างๆ ควรไตร่ตรองก่อนที่จะหลงเชื่อคำพูด

Facebook ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2004 โดย Mr. Mark Zuckerburg ปัจจุบันอายุ 31 ปี โดยขณะที่คิดค้นเวบไซต์นี้ Mr. Mark Zuckerburg เป็นนักศึกษาแผนกจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา และเว็บไซต์เปิดให้บริการเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดในการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น ต่อมาได้ขยายเครือข่ายไปยังนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นๆที่อยู่ใน Ivy League (เช่น โคลัมเบีย, สแตนฟอร์ด, และเยล) จนมีสมาชิกมาใช้บริการกันอย่างล้นหลาม จึงทำให้มีการขยายเครือข่ายมากขึ้นและพัฒนามาถึงหลายล้านคนในโลกปัจจุบัน สามารถจำแนกข้อดีข้อเสียได้ ดังนี้

ข้อดี

1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี

2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด

3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้

4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้

       5.เป็นเว็บไซต์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

  ข้อเสีย

1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้

2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้

3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น

4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้

5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น Facebook มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน

6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก

7.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา

8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากFaceBook ทำให้ FaceBook ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่

จึงกล่าวได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่องโลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นFacebookมากยิ่งขึ้น เพราะ FaceBookนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน

มาดู 7 นิสัยอันตรายในเฟสบุ๊คกัน !!

Image

1. หลงใหลตัวเองมากขึ้น

คนมักโพสต์รูปถ่ายกับรถใหม่ บ้านใหม่ ของเล่นชิ้นใหม่ บ้านใหม่ งานใหม่ สถานที่เที่ยวใหม่ๆ กระทั่งอาหารที่กำลังจะทานพวกเขาก็ไม่วายที่จะถ่ายรูปเพื่อเอามาอวดเพื่อนๆ หรืออวดว่ามีจำนวนคนมาขอเป็นเพื่อนมากมาย คนมากดชอบ แสดงความคิดเห็น ก็กลายเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาหลงตัวเองมากขึ้นไปอีก

2. ขี้อิจฉามากขึ้น

เมื่อมีคนโพสต์เรื่องตนเอง หน้าตาดี ชีวิตดี ฐานะดี ดูดี ดูเท่ คนอีกจำนวนหนึ่งที่รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่ดีแบบนั้น จึงกลายเป็นคนที่ขี้อิจฉามากขึ้น เพราะในโลกจริง ผู้คนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นคนจน ชนชั้นกลาง หลายๆ คนไม่ได้เป็นคนเก่ง ได้รับสถานะทางสังคมเฉกเช่นดารา คนดัง หรือบุคคลสาธารณะ เพื่อคนธรรมดาเหล่านั้นเข้ามาใช้เฟซบุ๊ก เขาก็เพียงแค่อยากจะรู้สึกเป็นคนเด่น คนดัง คนสำคัญบ้าง จึงต้องสร้างภาพตนเองให้ดูดีในพื้นที่สาธารณะสักเล็กน้อย เพื่อหลอกตัวเองหรือผู้อื่น

3. มองโลกในแง่ร้าย

เฟซบุ๊คเป็นที่ที่คนชอบโพสต์เรื่องส่วนตัวดีๆ ขณะที่เรื่องส่วนรวมของสังคมมักเป็นเรื่องร้ายๆ ดังนั้นคนที่เสพข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก จึงมักเห็นเรื่องปัญหาสังคมต่างๆ ถูกหยิบขยายความ ตีความ ส่งต่อแพร่หลายกระจายวงกว้าง พวกเขาจึงรู้สึกว่า “โลกช่างโหดร้าย” และมีลักษณะไม่ไว้วางใจผู้คนเรื่องต่างๆ มากขึ้น

4. ชอบสอดส่องสอดรู้ชีวิตคนอื่นๆ

การสอดส่อง ติดตาม (stalker) หรือการเข้าไปก้าวล่วงชีวิตของผู้อื่น นั่นแสดงว่าคุณมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนัก เพราะคุณเริ่มแยกไม่ออกระหว่าง พื้นที่สาธารณะ และความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น และนั่นอาจทำให้คุณรู้สึก “ย่ามใจและมีอำนาจเหนือชีวิตของผู้อื่น” และก้าวไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ในโลกจริงกับเขาที่คุณชื่นชอบ

5. เปิดเผยตัวเองมากขึ้น – กันเองมากขึ้น

ผู้คนในเฟซบุ๊กใช้ถ้อยคำภาษาที่กันเองมากขึ้น พวกเขาไม่รู้สึกแปลกที่จะบอกเล่าเรื่องราวความคิดความรู้สึกของตนเองกับคนแปลกหน้า และนั่นนำมาสู่ การเปิดรับ รู้จักคนแปลกหน้ามากขึ้น และกับดักของอาชญากรในเฟซบุ๊กที่พวกเขามักใช้ คือ ถ้อยคำที่สุภาพ ท่าทางที่ดูคบได้ ไว้ใจได้ และการสร้างความไว้วางใจที่มาจากบทสนทนาที่ดูเป็นกันเอง

6. จมทุกข์แบกโลกซึมเศร้า

มีหลายคนที่ไม่มีความสุขในชีวิตจริง พวกเขาจึงแบกโลกที่พวกเขาอยู่มาสถิตไว้ในเฟซบุ๊ก กลายเป็นแหล่งระบายอารมณ์ จมทุกข์ โศกเศร้ามากขึ้น การระบายอารมณ์ หรือแสดงความรู้สึกผิดหวังเสียใจนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่คุณอาจพบว่ามีเพื่อนบางคนมักจะอยู่ในอารมณ์เศร้าตลอดเวลา นั่นแสดงว่าเขาไม่สามารถหลุดพ้นก้าวข้ามสภาวะนั้นได้ และจะกลายเป็นคนที่มีภาวะซึมเศร้าแบบออนไลน์ตลอดเวลา และคนอื่นๆ ก็จะพากันเบื่อหน่ายหรือรังเกียจพวกเขา แทนที่จะเข้าใจและช่วยรักษาพวกเขา

7. หลงใหลยึดติดแบบอย่างชีวิตของผู้อื่น

คนที่หลงใหลในชีวิตผู้อื่นจะสูญเสียความภูมิใจในตนเองมากไปกว่านั้น คือเฝ้ารอเฝ้าคอยที่จะติดต่อติดตามสื่อสารกับผู้อื่น เขาจะไม่สนใจชีวิตของตนเองอีกต่อไป ร้ายกว่านั้นคือ เขาอนุญาตให้ชีวิตคนอื่นเข้ามาควบคุมบงการชีวิตของเขาเอง ร้ายที่สุด คือ สับสนในโลกจริง โลกเสมือน และไปใช้ชีวิตของตนเองในชีวิตเฟซบุ๊คของคนอื่น!

เฟซบุ๊กนั้น มิใช่เชื้อโรคหรือไวรัส แต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่บ่มเพาะ ผลิต และเผยแพร่โรคอันเกิดมาจากผู้คนที่มาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมเสมือนจริง ผู้คนต่างๆ เข้ามาเสพติดมันและเปลี่ยนนิสัยตนเอง หรือย้ำสร้างนิสัยเดิมตนเองให้มีความรุนแรงมากขึ้น

อ้างอิง

http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=3487.0

http://www.newsletter.ipsr.mahidol.ac.th/index.php/component/content/article/103-popdev-vol35-no5/295-vol35-no5-article08.html

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000133569

http://facebook-ovalates.blogspot.com/2011/09/facebook_3719.html

( 21 กรกฎาคม 2559)

ใส่ความเห็น